ชุดดินบางปะกง (Bang Pakong Series: Bpg)

กลุ่มชุดดินที่ 13
การจำแนกดิน Fine, mixed, acid, isohyperthermic Typic Sulfaquents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำทะเลพามาทับถมอยู่บนที่ลุ่มน้ำทะเลท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % อยู่สูง 0-1 เมตร
จากระดับน้ำทะเล
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าชายเลน บางแห่งใช้ทำนาเกลือ ทำบ่อ
เลี้ยงกุ้งและปลา
การแพร่กระจาย พบทั่วไปในบริเวณที่ราบน้ำขึ้นถึง (tidal flat) ซึ่งมีน้ำทะเลท่วม
อยู่เป็นประจำ
การจัดเรียงชั้นดิน Ag-ACg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลถึงสีเทาเข้มมาก มีจุดประสีน้ำตาลหรือสีแดงปนเหลืองและสีเทาปฏิกิริยาดินเป็นด่างเล็กน้อย (pH 7.5) ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวสีเทาเข้มปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ดินล่างตอนล่าง เป็นดินเหนียวสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นด่างจัด (pH 8.5) ทุกชั้นดินมีค่า n-value มากกว่า 0.7 ดินนี้เมื่อแห้งหรือถูกเติมออกซิเจนจะแปรสภาพเป็นดินกรดกำมะถัน โดยขบวนการสร้างแร่ซัลไฟต์ (pyritezation: Fe2S)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่าจีน และชุดดินตะกั่วทุ่ง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินที่เป็นพวกดินกรดกำมะถันแฝง มีน้ำท่วมถึงประจำ เป็นดินเลน มีโครงสร้างเลว มีสมบัติทางกายภาพไม่เหมาะสมในการที่จะนำมาใช้ในการเกษตร
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้การเกษตร ถ้านำมาใช้จะมีปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง ควรสงวนไว้ให้เป็นป่าชายเลนตามสภาพปัจจุบัน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙