ชุดดินบางกอก (Bangkok Series: Bk)

กลุ่มชุดดินที่ 3
การจำแนกดิน Very-fine, smectitic, nonacid, isohyperthermic Vertic Endoaquepts
การกำเนิด ตะกอนน้ำทะเลผสมกับตะกอนลำน้ำ ซึ่งพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณภาคกลางตอนใต้ และพบบ้างในภาคใต้
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-Bssg-Bg-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินเหนียว สีดำ มักพบจุดประสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5) ดินบนตอนล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีเทาเข้มหรือสีเทาปนน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกลาง (pH 7.0) ดินล่างตอนล่างในระดับความลึก 1-1.5 เมตร จะพบดินเลนสีน้ำเงินที่มีปริมาณกำมะถันต่ำ มีเปลือกหอยปะปนตลอด จะพบรอยไถลในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นด่างเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินสมุทรปราการ และชุดดินบางเลน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ลึก 20-30 ซม. นาน 3-4 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นทั้งยังเพิ่มแร่ธาตุอาหารในดินให้แก่พืชอีกด้วย





:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙