เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 61
.
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 61
ชุดดินในกลุ่ม
         
หน่วยแผนที่นี้ประกอบด้วยดินบริเวณเชิงเขาที่มีดินหลายอย่างเกิดปะปนกัน
ลักษณะเด่น กลุ่มดินเศษหินเชิงเขาที่เกิดจากการแตกผุพังสลายตัวของหินเชิงเขา พบเศษหินหรือก้อนหินร่วงลงมาทับถมบริเวณเชิงเขากระจัดกระจายทั่วไป ลักษณะและสมบัติดินไม่แน่นอน การระบายน้ำดี
สมบัติของดิน กลุ่มดินนี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดซึ่งเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินต้นกำเนิดชนิดต่างๆ แล้วถูกพัดพามาทับทมบริเวณที่ลาดเชิงเขา มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง มีลักษณะและสมบัติต่างๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้นๆ ส่วนใหญ่มักมีเศษหิน ก้อนหินและหินพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 1.3 1.5 141.0 5.5-7.0
ดินล่าง 1.1 1.2 161.4 5.0-6.5

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้นๆ
การใช้ประโยชน์ ทำไร่เลื่อนลอย บริเวณที่มีความลาดชันสูงอาจเกิดปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน เนื่องจากมีการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ
ปัญหา ดินตื้นที่มีก้อนหินหรือเศษหินกระจัดกระจายทั่วไป ในพื้นที่ลาดชันเกิดการชะล้างพังทลายและขาดแคลนน้ำ
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 3d ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อ้อยโรงงาน 1 เหมาะสม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 เหมาะสม
มันสำปะหลัง 1 เหมาะสม
สับปะรด 1 เหมาะสม
ยางพารา 1 เหมาะสม
ปาล์มน้ำมัน 1 เหมาะสม
ลำไย 1 เหมาะสม
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
  พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมากหรือมีก้อนหินหรือเศษหินกระจัดกระจายทั่วไป ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า
ปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ที่เป็นดินลึกและไม่พบก้อนหินหรือเศษหินมากบนผิวดิน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือสับกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียน พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ปลูกไม้ผล เลือกพื้นที่ที่เป็นดินลึกและไม่พบก้อนหินหรือเศษหินมากบนผิวดิน ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปลูกพืชคลุมดิน มีวัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
เส้นทาง แนวถนน 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
บ่อขุด 3kp ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และการมีก้อนหิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
ระบบบ่อเกรอะ 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
อาคารต่ำๆ 3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3p ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการมีก้อนหิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) ไม่มีข้อมูล