เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 59
.
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 59
ชุดดินในกลุ่ม
         
เนื่องจากหน่วยแผนที่นี้เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิด ดังนั้นในแผนที่ดินระดับจังหวัด จึงเรียกว่าเป็นพวกดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ำเลว (AC-pd : Alluvial Complex, poorly drained)
ลักษณะเด่น กลุ่มดินร่วนหยาบหรือดินร่วนละเอียดที่เกิดจากดินตะกอนน้ำพาเชิงซ้อน ชั้นดินมีลักษณะเป็นชั้นสลับ เนื้อดินไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับตะกอนที่มาทับถม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง การระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว
สมบัติของดิน กลุ่มดินนี้พบบริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณพื้นล่างของเนิน หรือหุบเขา ที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ไม่แน่นอน เช่น เนื้อดิน สีดิน ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 0.4 2.2 25.0 5.5-7.0
ดินล่าง - - - -

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้นๆ
การใช้ประโยชน์ ทำนา ส่วนในฤดูแล้ง ถ้ามีแหล่งน้ำ นิยมใช้ปลูกพืชผักหรือพืชไร่อายุสั้น เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
ปัญหา  
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 1sn เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์
อ้อยโรงงาน 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
มันสำปะหลัง 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
สับปะรด 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ยางพารา 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ปาล์มน้ำมัน 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ลำไย 3w ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปลูกพืชผักหรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 2s เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3d ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
เส้นทาง แนวถนน 3df ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
บ่อขุด 2k เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2k เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 3hf ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3df ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
อาคารต่ำๆ 3df ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3d ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) ไม่มีข้อมูล