เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 58
.
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 58
ชุดดินในกลุ่ม
ชุดดินนราธิวาส (Nw) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินที่มีวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 100 ซม. จากผิวดิน มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดและมีการระบายน้ำเลวมาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีน้ำท่วมขังนานเกือบตลอดปี
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มชุดดินที่ 57 คือ พบบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่พรุ มีน้ำแช่ขังอยู่เป็นเวลานานหรือตลอดปี เป็นดินลึก การระบายน้ำเลวมาก มีเนื้อดินเป็นพวกดินอินทรีย์ที่มีเนื้อหยาบ ที่มีความหนามากกว่า 100 ซม. มักมีเศษพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่ปะปนอยู่ทั่วไป
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 103.1 59.5 203.8 4.0-4.5
ดินล่าง 103.8 45.1 200.1 4.0-4.5

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ต่ำ
การใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ยังคงสภาพป่าพรุ บริเวณขอบๆ พรุบางแห่ง ใช้ปลูกพืชล้มลุกและพืชผักสวนครัว แต่ไม่ค่อยได้ผล เมื่อป่าพรุถูกทำลายไปจะมีพืชต่างๆ เช่น กระจูด เฟิร์น และเสม็ดขึ้นแทนที่
ปัญหา เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพต่ำเป็นกรดรุนแรงมาก ขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ อย่างรุนแรง และยากต่อการใช้เครื่องมือทางการเกษตรเนื่องจากเป็นที่ลุ่มต่ำและดินยุบตัว หากมีการระยายน้ำออกเมื่อดินแห้งจะติดไฟได้ง่าย
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 2o ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
อ้อยโรงงาน 2o ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
มันสำปะหลัง 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
สับปะรด 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
ยางพารา 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
ปาล์มน้ำมัน 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
ลำไย 3o ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความหนาของชั้นวัสดุดินอินทรีย์
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
  เลือกพื้นที่บริเวณขอบพรุและไม่เป็นป่าพรุมาใช้ประโยชน์ มีระบบป้องกันน้ำท่วม ทางระบายน้ำและให้น้ำในแปลงปลูก
ปลูกข้าว เลือกพันธุ์ข้าวที่ทนความเป็นกรดมาปลูก หว่านหินปูนฝุ่น 1.5-2.0 ตัน/ไร่ ให้ทั่วแปลงปลูก เตรียมแปลงปลูกโดยใช้เครื่องจักรกลขนาดเบาหรือแรงคน ก่อนปลูกและหลังปลูก 30-45 วัน ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 มีระบบการระบายน้ำและการให้น้ำแยกส่วนกัน
ปลูกพืชไร่ พืชผัก และไม้ผล มีแนวป้องกันน้ำท่วม ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-0.75 เมตร มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ำท่วม หว่านหินปูนฝุ่น 2.5-3.0 ตัน/ไร่ ให้ทั่วบนสันร่อง และในร่องคูน้ำ มีการควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้คงที่ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. พร้อมปรับปรุงหลุมปลูกด้วยร็อคฟอสเฟต 250 กรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก และใช้หินปูนฝุ่น 2.5-3.0 ตัน/ไร่ เมื่อดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีการพูนโคนสม่ำเสมอ เมื่อรากลอย
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 4d ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 4ad ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และการระบายน้ำของดิน
เส้นทาง แนวถนน 4af ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
บ่อขุด 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 3h ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3af ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
อาคารต่ำๆ 3af ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3sd ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และการระบายน้ำของดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) ไม่มีข้อมูล