เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่
52
 
กลุ่มชุดดินที่ 52
ชุดดินในกลุ่ม
ชุดดินบึงชะนัง (Bng) ชุดดินตาคลี (Tk)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินตื้นถึงชั้นมาร์ลหรือก้อนปูน ปฏิกิริยาดินเป็นด่าง การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ทับอยู่บนชั้นปูนมาร์ล พบบริเวณที่ลาดเชิงเขาหินปูน มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นปูนมาร์ล มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ที่มีก้อนปูนหรือปูนมาร์ลปะปนอยู่มาก สีดินเป็นสีดำ สีน้ำตาลหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างจัด
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 7.0 6.5 354.0 7.0-8.5
ดินล่าง 5.6 5.6 289.7 7.0-8.5

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ปานกลางถึงสูง
การใช้ประโยชน์ ปลูกพืชไร่ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด ถั่ว และ ไม้ผลบางชนิด เช่น มะม่วง มะพร้าว และน้อยหน่า ถ้าในกรณีที่พบชั้นปูนมาร์ลลึกกว่า 25 ซม.
ปัญหา ดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลหรือก้อนปูน ดินแห้งแข็ง ดินเปียกเหนียว ทำให้ไถพรวนยาก ขาดแคลนน้ำ และดินเป็นด่างจัดในกรณีที่พบชั้นปูนมาร์ลลึกกว่า 25 ซม. หากนำมาใช้ปลูกพืชไร่ ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะมีน้อย แต่ถ้าพบชั้นปูนมาร์ลตื้นกว่า 25 ซม.จะมีปัญหาเรื่องการไถพรวน
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อ้อยโรงงาน 1 เหมาะสม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1g เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความลึกที่พบก้อนกรวด 35-60 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร
มันสำปะหลัง 1g เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความลึกที่พบก้อนกรวด 35-60 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร
สับปะรด 2k ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ยางพารา 2k ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ปาล์มน้ำมัน 2k ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ลำไย 1g เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความลึกที่พบก้อนกรวด 35-60 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก เลือกชนิดพืชที่ชอบดินเป็นด่างมาปลูก ไถพรวนดินในขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1-2 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไถพรวนและปลูกพืชขวางความลาดชัน ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกสลับเป็นแถว ปลูกพืชคลุมดิน ทำคันดินร่วมกับปลูกหญ้าแฝก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. หรือถึงชั้นมาร์ล ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 15-25 กิโลกรัม/หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น มีการพูนโคนด้วยหน้าดิน เมื่อพบว่ามีรากลอย ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 2s เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
เส้นทาง แนวถนน 3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
บ่อขุด 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 2k เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
อาคารต่ำๆ 3a ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3s ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) มีค่าระหว่าง 16.46-20.46 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 18.36 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน -33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน -1,500 กิโลพาสคาล)