เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่
43
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 43
ชุดดินในกลุ่ม
ชุดดินบาเจาะ (Bc) ชุดดินดงตะเคียน (Dt) ชุดดินหัวหิน (Hh) ชุดดินหลังสวน (Lan) ชุดดินไม้ขาว (Mik) ชุดดินพัทยา (Py) ชุดดินระยอง (Ry) ชุดดินสัตหีบ (Sh)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินทรายลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำหรือสันทรายชายทะเล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่าง การระบายน้ำค่อนข้างดีมาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก หรือบริเวณชายฝั่งทะเล เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบหรือเป็นลูกคลื่นลอนลาด พบบริเวณหาดทราย สันทรายชายทะเล หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขา เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย ดินมีสีเทา สีน้ำตาลอ่อน หรือเหลือง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง ถ้าพบบริเวณสันทรายชายทะเลจะมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 0.6 4.0 44.0 6.0-7.0
ดินล่าง 0.4 - 39.5 6.5-7.0

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ต่ำ
การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด ปอ ส่วนไม้ยืนต้น ได้แก่ มะพร้าว และมะม่วงหิมพานต์ บางแห่งเป็นป่าละเมาะหรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ
ปัญหา เนื้อดินเป็นทรายจัด ทำให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดน้ำอยู่เสมอ นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อ้อยโรงงาน 2s ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1sn เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์
มันสำปะหลัง 1sn เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์
สับปะรด 2s ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ยางพารา 2s ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ปาล์มน้ำมัน 1n เหมาะสมมีข้อจำกัดความอุดมสมบูรณ์
ลำไย 2s ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี ให้มีการปลูกพืชบำรุงดินร่วมอยู่ด้วย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 35-50 กิโลกรัม/หลุม ปลูกพืชคลุมดิน มีวัสดุคลุมดิน ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 1 เหมาะสมดี
ดินถมหรือดินคันทาง 1 เหมาะสมดี
เส้นทาง แนวถนน 1 เหมาะสมดี
บ่อขุด 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 3k ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 1 เหมาะสมดี
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
1 เหมาะสมดี
อาคารต่ำๆ 1 เหมาะสมดี
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3s ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) มีค่าระหว่าง 1.18-5.56 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 3.20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน -33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน -1,500 กิโลพาสคาล)