กลุ่มชุดดินที่ 42 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินบ้านทอน (Bh) หรือดินคล้ายอื่นๆ
ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินทรายที่มีชั้นดานอินทรีย์ภายในความลึก
100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง
การระบายน้ำค่อนข้างมากอยู่บนชั้นดินที่มีการระบายน้ำดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่พบบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายชายทะเล
เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล พบบนพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
เป็นดินลึกปานกลางถึงชั้นดานอินทรีย์ มีการระบายน้ำดีปานกลาง
เนื้อดินเป็นทรายจัด สีดินบนเป็นสีเทาแก่ ใต้ลงไปเป็นชั้นทรายสีขาว
และดินล่าง ระหว่างความลึก 50-100 ซม. เป็นชั้นที่มีการสะสมของพวกอินทรียวัตถุ
เหล็กหรือฮิวมัส สีน้ำตาล สีแดง ชั้นเหล่านี้มีการเชื่อมตัวกันแน่นแข็งเป็นชั้นดานอินทรีย์
มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง
|
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
1.8 |
3.7 |
16.6 |
5.0-6.0 |
ดินล่าง |
1.4 |
2.3 |
12.3 |
5.0-5.0 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ต่ำ |
การใช้ประโยชน์ |
เป็นป่าเสม็ด ป่าชายหาดป่าละเมาะ
บางแห่งใช้ปลูกมะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ หรือพืชไร่บางชนิด
เช่น มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด |
ปัญหา |
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก
และเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายจัด ไม่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลงเหลืออยู่
และพืชมักแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็น ในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมาก
รากพืชไม่สามารถไชชอนผ่านไปได้ ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีน้ำแช่ขัง |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
3d |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
อ้อยโรงงาน |
2s |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
|
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
1sn |
เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ |
มันสำปะหลัง |
1sn |
เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ |
สับปะรด |
2b |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง |
ยางพารา |
2b |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง |
ปาล์มน้ำมัน |
1n |
เหมาะสมมีข้อจำกัดความอุดมสมบูรณ์ |
ลำไย | 2b |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
เลือกชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด
(หว่านถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ ถั่วพุ่ม 8-10
กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบก่อนออกดอก
ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปลูกพืชคลุมดินหรือมีวัสดุคลุมดิน พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
ปลูกไม้ผล |
ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75
ซม. และทำลายชั้นดานอินทรีย์ ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
35-50 กิโลกรัม/หลุม ปลูกพืชคลุมดิน มีวัสดุคลุมดิน
ทำคันดินร่วมกับปลูกหญ้าแฝก ในช่วงการเจริญเติบโต
ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูกในพื้นที่ลุ่มทำทางระบายน้ำ
เพื่อป้องกันการแช่ขังของน้ำในช่วงที่มีฝนตกหนัก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
3s |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
2a |
เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
1 |
เหมาะสมดี |
เส้นทาง แนวถนน |
1 |
เหมาะสมดี |
บ่อขุด |
3k |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
3k |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
คั้นกั้นน้ำ |
3a |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
1 |
เหมาะสมดี |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
อาคารต่ำๆ |
1 |
เหมาะสมดี |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
3s |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 2.21-4.08
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 2.87 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |