กลุ่มชุดดินที่
41 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินบ้านไผ่ (Bpi) ชุดดินคำบง
(Kg) ชุดดินมหาสารคาม (Msk)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินทรายหนาปานกลางที่เกิดจากตะกอนลำน้ำหรือตะกอนเนื้อหยาบทับอยู่บนชั้นดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นกลาง การระบายน้ำดีอยู่บนชั้นดินที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่
หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ
หรือจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำหรือวัตถุน้ำพาจากบริเวณที่สูง
วางทับอยู่บนชั้นดินร่วนหยาบหรือร่วนละเอียด พบในบริเวณพื้นที่ดอน
ที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอดลาด เป็นดินลึก
มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินช่วง 50-100 ซม. เป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน
ส่วนชั้นดินถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย
สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองปนสีน้ำตาล พบจุดประสีต่างๆ
ในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ชั้นดินบนมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย
ส่วนในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง |
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
0.2 |
10.5 |
14.3 |
5.5-6.5 |
ดินล่าง |
0.1 |
5.8 |
12.2 |
6.5-8.0 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ต่ำ |
การใช้ประโยชน์ |
ใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ปอแก้ว
มันสำปะหลัง อ้อย ปอ ข้าวโพด ฝ้าย ถั่ว ยาสูบ บางแห่งเป็นป่าเต็งรัง |
ปัญหา |
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก
เนื้อดินบนเป็นทรายจัด พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ง่าย
แต่ถ้ามีฝนตกมากดินชั้นบนจะแฉะและอาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกบางชนิด
บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
3d |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
อ้อยโรงงาน |
2s |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
|
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
1sn |
เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ |
มันสำปะหลัง |
1sn |
เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ |
สับปะรด |
2s |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
|
ยางพารา |
2s |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
|
ปาล์มน้ำมัน |
1n |
เหมาะสมมีข้อจำกัดความอุดมสมบูรณ์ |
ลำไย |
2s |
ไม่ค่อยเหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
|
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด
(หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม
8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก
ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
มีวัสดุคลุมดินหรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ในพื้นที่ต่ำควรทำร่องหรือทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณรากพืช |
ปลูกไม้ผล |
ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75
ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50
กิโลกรัม/หลุม ทำร่องระบายน้ำระหว่างแถวปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณรากพืช
ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ในช่วงเจริญเติบโต
ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
2s |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
3a |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
1 |
เหมาะสมดี |
เส้นทาง แนวถนน |
1 |
เหมาะสมดี |
บ่อขุด |
3k |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
3k |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
คั้นกั้นน้ำ |
2a |
เหมาะสมปานกลางมีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
1 |
เหมาะสมดี |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
อาคารต่ำๆ |
1 |
เหมาะสมดี |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
3s |
ไม่เหมาะสมมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 5.21-9.79
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 6.47 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |