กลุ่มชุดดินที่ 34 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินฉลอง (Chl) ชุดดินฝั่งแดง
(Fd) ชุดดินควนกาหลง (Kkl) ชุดดินคลองท่อม (Km) ชุดดินคลองนกกระทุง
(Knk) ชุดดินละหาน (Lh) ชุดดินนาท่าม (Ntm) ชุดดินท่าแซะ
(Te)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินร่วนละเอียดลึกถึงลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำหรือวัตถุต้นกำเนิดดินเนื้อหยาบ
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
|
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก
เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ
หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม
ของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากพวกหินอัคนี หรือหินตะกอน พบบริเวณพื้นที่ดอน
ที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นเนินเขา เป็นดินลึกมาก
มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย
ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด
|
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
1.2 |
2.3 |
30.3 |
5.0-5.5 |
ดินล่าง |
0.8 |
2.1 |
23.1 |
4.5-5.0 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ต่ำ |
การใช้ประโยชน์ |
ใช้ปลูกยางพารา มะพร้าว ไม้ผล
และพืชไร่บางชนิด บางแห่งยังคงสภาพป่าธรรมชาติ ป่าละเมาะและไม้พุ่ม |
ปัญหา |
เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับชะล้างพังทะลายของหน้าดิน |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
3d |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
อ้อยโรงงาน |
1sn |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรืองเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
มันสำปะหลัง |
1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
สับปะรด |
1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
ยางพารา |
1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
ปาล์มน้ำมัน |
1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
ลำไย | 1n |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ
จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี ให้มีการปลูกพืชบำรุงดินร่วมอยู่ด้วย
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด
(หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม
6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก
ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน
ปลูกพืชสลับเป็นแถบ ทำแนวรั้วหญ้าแฝก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
ปลูกไม้ผล |
ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50
ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35
กิโลกรัม/หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน
มีวัสดุคลุมดิน ขั้นบันได คันดิน ทำแนวรั้วหญ้าแฝกหรือทำฐานเฉพาะต้น
ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต
ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
2s |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
4a |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
1 |
เหมาะสมดี |
เส้นทาง แนวถนน |
1 |
เหมาะสมดี |
บ่อขุด |
3k |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
3k |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
คั้นกั้นน้ำ |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
1 |
เหมาะสมดี |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
อาคารต่ำๆ |
1 |
เหมาะสมดี |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
1 |
เหมาะสมดี |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 11.09-15.83
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 13.68 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |