กลุ่มชุดดินที่ 32 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินลำแก่น (Lam) ชุดดินรือเสาะ
(Ro) ชุดดินตาขุน (Tkn)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินร่วนหรือดินทรายแป้งละเอียดลึกมากที่เกิดจากตะกอนริมแม่น้ำ
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
|
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก
เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำบริเวณสันดินริมน้ำ
มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอดลาด เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง
เนื้อดินเป็นพวกดินร่วน ละเอียดหรือดินทรายแป้ง บางแห่งอาจมีชั้นดินทรายละเอียดสลับชั้นอยู่
และมักมีแร่ไมกาปะปนในเนื้อดิน สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลืองปนน้ำตาล
และอาจจะพบจุดประสีพวกสีเหลือง หรือสีเทา ในดินชั้นล่าง
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง |
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
5.6 |
2.3 |
106.7 |
5.5-6.0 |
ดินล่าง |
4.0 |
2.3 |
84.3 |
4.5-5.5 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ปานกลาง |
การใช้ประโยชน์ |
ปลูกยางพารา กาแฟ และไม้ผลชนิดต่างๆ |
ปัญหา |
ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องสมบัติของดิน
แต่อาจมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม สร้างความเสียหายให้แก่พืชที่ปลูก
หากน้ำในลำน้ำมีปริมาณมากจนไหลเอ่อท่วมตลิ่ง และแช่ขังอยู่เป็นเวลานาน |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
3d |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
อ้อยโรงงาน |
1 |
เหมาะสม |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
1 |
เหมาะสม |
มันสำปะหลัง |
1 |
เหมาะสม |
สับปะรด |
1 |
เหมาะสม |
ยางพารา |
1 |
เหมาะสม |
ปาล์มน้ำมัน |
1 |
เหมาะสม |
ลำไย | 1 |
เหมาะสม |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกพืชไร่
หรือพืชผัก |
จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี
โดยให้มีการปลูกพืชบำรุงดินอยู่ด้วย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า
8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่
หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้
1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ มีวัสดุคลุมดิน หรือทำแนวรั้วหญ้าแฝก
มีการใช้ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก เพื่อรักษาความสามารถในการผลิตของดินไว้ไม่ให้เสื่อมโทรมลงและช่วยเพิ่มผลผลิต
พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
ปลูกไม้ผล |
ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50
ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35
กิโลกรัม/หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น มีวัสดุคลุมดิน
ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น
ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต
ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
2s |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
4a |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
เส้นทาง แนวถนน |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
บ่อขุด |
3k |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
3k |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน |
คั้นกั้นน้ำ |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
1 |
เหมาะสมดี |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
อาคารต่ำๆ |
1 |
เหมาะสมดี |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
2s |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 19.85-21.65
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 20.61 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |