เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 28
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 28
ชุดดินในกลุ่ม
 
ชุดดินชัยบาดาล (Cd) ชุดดินดงลาน (Dl) ชุดดินลพบุรี (Lb) ชุดดินน้ำเลน (Nal) ชุดดินวังชมภู (Wc)หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินเหนียวลึกมากสีดำที่มีรอยแตกระแหงกว้างและลึก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่าง การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ หรือเกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือเกิดจากการสลายตัวแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นกำเนิดดินที่มาจากหินต้นกำเนิด พวกหินบะซอลต์ หรือหินแอนดีไซต์ พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่อยู่ใกล้กับเขาหินปูน หรือหินภูเขาไฟ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลในดิน สีดินเป็นสีดำ สีเทาเข้ม หรือสีน้ำตาล อาจพบจุดประสีน้ำตาลหรือสีแดงปนน้ำตาลปริมาณเล็กน้อยในดินชั้นบน ส่วนชั้นดินล่างอาจพบชั้นปูนมาร์ล ปฏิกิริยาของดินส่วนใหญ่จะเป็นกลางถึงเป็นด่างปานกลาง
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 8.0 29.7 208.8 7.0-8.0
ดินล่าง 6.9 22.9 167.2 7.0-8.0

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ปานกลางถึงสูง
การใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ ฝ้าย และไม้ผลบางชนิด
ปัญหา เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องทำในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ มิฉะนั้นจะทำให้ดินแน่นทึบ ในช่วงฤดูแล้ง ดินมีการหดตัวทำให้ดินแตกระแหงเป็นร่องลึก ส่วนในฤดูฝนจะมีน้ำแช่ขังง่าย ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อ้อยโรงงาน 1 เหมาะสม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 เหมาะสม
มันสำปะหลัง 1 เหมาะสม
สับปะรด 2k ไม่ค่อยเหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ยางพารา 2k ไม่ค่อยเหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ปาล์มน้ำมัน 2k ไม่ค่อยเหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความเป็นด่างของดิน
ลำไย 1 เหมาะสม
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านพืชปุ๋ยสด ถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ ถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบก่อนออกดอก) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และความซาบซึมน้ำของดิน
เส้นทาง แนวถนน 3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และความซาบซึมน้ำของดิน
บ่อขุด 2k เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2k เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 3k ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และความซาบซึมน้ำของดิน
อาคารต่ำๆ 3a ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) มีค่าระหว่าง 15.65-17.09 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 16.27 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน -33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน -1,500 กิโลพาสคาล)