กลุ่มชุดดินที่ 20 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินกุลาร้องไห้ (Ki) ชุดดินหนองแก (Nk) ชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Tsr) ชุดดินอุดร (Ud) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินเค็มเกิดจากตะกอนลำน้ำ มีคราบเกลือลอยหน้าหรือมีชั้นดานแข็งที่สะสมเกลือภายในความลึก 100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่าง การะบายน้ำค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของวัสดุเนื้อหยาบ ที่มีชั้นหินเกลือรองรับอยู่ หรืออาจได้รับอิทธิพลจากการแพร่กระจายของเกลือทางผิวดิน พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้ำแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ส่วนดินล่างเป็นชั้นดินแน่นทึบที่มีการสะสมเกลือโซเดียม มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประพวกสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีสในดินชั้นล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ดินชั้นบนโดยมากจะมีปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง ส่วนดินชั้นล่างมักมีปฏิกิริยาเป็นด่างเล็กน้อยถึงเป็นด่างจัด แต่ถ้ามีก้อนปูนปะปน จะมีปฏิกิริยาเป็นกลางถึงด่างจัด ตามปกติในฤดูแล้งจะมีคราบเกลือเกิดขึ้นทั่วไปบนผิวดิน |
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
0.4 |
4.2 |
71.0 |
6.0-7.0 |
ดินล่าง |
0.2 |
3.2 |
76.8 |
7.5-8.5 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ต่ำ |
การใช้ประโยชน์ |
ใช้ทำนา บริเวณที่เค็มจัดจะปรากฏคราบเกลือบนผิวดิน ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้ มีป่าละเมาะและไม้พุ่มหนามขึ้นกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ บางแห่งเป็นแหล่งทำเกลือสินเธาว์ |
ปัญหา |
ดินเค็ม มักพบชั้นดานแข็งที่มีการสะสมเกลือ มีปริมาณธาตุโซเดียมสูงจนเป็นพิษต่อพืช เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย โครงสร้างของดินไม่ดี ค่อนข้างแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในพื้นที่ดินเค็มจัด มีคราบเกลือมาก ขาดแคลนแหล่งน้ำจืด มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
2x |
ไม่ค่อยเหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความเค็มของดิน |
อ้อยโรงงาน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
มันสำปะหลัง |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
สับปะรด |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ยางพารา |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ปาล์มน้ำมัน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ลำไย |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกข้าว |
เลือกพันธุ์ข้าวที่ทนเค็มมาใช้ปลูก ปล่อยให้มีน้ำขังและล้างเกลือออกไปจากดิน ไถกลบตอซัง ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใช้กล้าข้าวที่มีอายุ 30-35 วัน จำนวน 5-8 ต้น/จับ ระยะปักดำ 20x20 ซม. ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
ปลูกพืชผักหรือไม้ผล |
ควรเลือกพื้นที่ที่มีคราบเกลือไม่มากนักและมีแหล่งน้ำชลประทาน เลือกพืชที่ทนเค็มมาปลูก ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร ทำคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัม/หลุม ใช้สารยิปซั่มคลุกเคล้ากับดินและใช้น้ำล้าง มีวัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกลือขึ้นมาอยู่ที่ผิวดิน ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
4x |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องความเค็มของดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
4a |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
2d |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
เส้นทาง แนวถนน |
3f |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง |
บ่อขุด |
2k |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดความซาบซึมน้ำของดิน |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
2k |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดความซาบซึมน้ำของดิน |
คั้นกั้นน้ำ |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
3kh |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
3df |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง |
อาคารต่ำๆ |
3df |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
3d |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 14.79-16.11
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 15.51 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักภายในความลึก
120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |