เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 19 .
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 19
ชุดดินในกลุ่ม
ชุดดินมะขาม (Mak) ชุดดินวิเชียรบุรี (Wb) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินร่วนหยาบที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ มีชั้นแน่นทึบภายในความลึก 100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นด่างเล็กน้อย การระบายน้ำค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ หรือจากการสลายตัวผุพัง แล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถม ของวัสดุเนื้อหยาบ พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ส่วนใหญ่มีน้ำแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ดินล่างเป็นชั้นดินแน่นทึบ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินเหนียว สีน้ำตาลอ่อนและสีเทา มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง บางแห่งอาจมีศิลาแลงอ่อนปะปนอยู่ด้วย มีปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมากถึงด่างปานกลาง
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 1.7 1.8 26.8 5.0-6.5
ดินล่าง 1.1 1.8 23.3 7.0-8.0

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ต่ำ
การใช้ประโยชน์ มักปล่อยเป็นที่รกร้างว่างเปล่าหรือเป็นป่าละเมาะเล็กๆ บางพื้นที่ใช้ทำนา แต่มักให้ผลผลิตต่ำ
ปัญหา เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายที่มีชั้นดานภายในความลึก 100 ซม. จากผิวดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำนาน และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 1s เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
อ้อยโรงงาน 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
มันสำปะหลัง 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
สับปะรด 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ยางพารา 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ปาล์มน้ำมัน 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ลำไย 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านโสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว ทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปลูกพืชผักหรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตรหรือถึงชั้นดานแข็ง มีคันดินอันแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 2s เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
เส้นทาง แนวถนน 3f ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง
บ่อขุด 2k เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดความซาบซึมน้ำของดิน
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 2k เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดความซาบซึมน้ำของดิน
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 2k เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดความซาบซึมน้ำของดิน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อาคารต่ำๆ 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
2d เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดการระบายน้ำของดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) มีค่าระหว่าง 10.11-15.23 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 13.28 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน -33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน -1,500 กิโลพาสคาล)