กลุ่มชุดดินที่ 15 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินหล่มสัก (La) ชุดดินแม่สาย (Ms) ชุดดินแม่ทะ (Mta) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินทรายแป้งลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือเป็นด่าง การระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง |
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีน้ำแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึกมากที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวหรือเลว เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินบนมีสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างสีน้ำตาลหรือสีเทาปนชมพู พบจุดประสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน ในดินชั้นล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีส ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างปานกลาง |
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
1.7 |
8.2 |
48.4 |
5.5-6.5 |
ดินล่าง |
1.7 |
6.5 |
53.9 |
6.5-8.0 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ต่ำถึงปานกลาง |
การใช้ประโยชน์ |
ใช้ทำนา ในฤดูแล้งบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ใช้ปลูกยาสูบ พืชผักต่างๆ หรือพืชไร่บางชนิด ถ้ามีการชลประทาน ใช้ทำนาได้ 2 ครั้งในรอบปี |
ปัญหา |
หน้าดินแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
1s |
เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน |
อ้อยโรงงาน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
มันสำปะหลัง |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
สับปะรด |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ยางพารา |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ปาล์มน้ำมัน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ลำไย |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ปลูกข้าว |
ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 6-8 ตัน/ไร่ ไถกลบก่อนออกดอก 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน การปักดำข้าวควรเพิ่มจำนวนต้นต่อกอให้มากขึ้น พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ |
ปลูกพืชผักหรือไม้ผล |
ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. พร้อมปรับปรุงหลุมปลูกด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
1 |
เหมาะสมดี |
แหล่งทรายและกรวด |
4a |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
3ad |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และการระบายน้ำของดิน |
เส้นทาง แนวถนน |
3af |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง |
บ่อขุด |
1 |
เหมาะสมดี |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
คั้นกั้นน้ำ |
2a |
เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
3kh |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
3da |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
อาคารต่ำๆ |
3da |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
3sd |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และการระบายน้ำของดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
มีค่าระหว่าง 20.84-22.89
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 21.64 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักภายในความลึก
120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน
-33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน
-1,500 กิโลพาสคาล) |