กลุ่มชุดดินที่ 13 |
ชุดดินในกลุ่ม |
|
ชุดดินบางปะกง (Bpg) ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tkt) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้ |
ลักษณะเด่น |
กลุ่มดินเลนเค็มชายทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถัน ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่าง การระบายน้ำเลวมาก ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง |
สมบัติของดิน |
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนน้ำทะเล พบในบริเวณที่ราบน้ำทะเลท่วมถึงและบริเวณชะวากทะเล เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำเลวมาก เป็นดินเลนเละ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินบนมีสีดำปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลเล็กน้อย ส่วนดินล่างเป็นดินเลนสีเทาแก่หรือสีเทาปนเขียว และพบเศษรากพืชปะปนในดินเป็นจำนวนมาก เป็นดินที่มีสารประกอบกำมะถันมาก ตามปกติเมื่อดินเปียก ค่าปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง แต่เมื่อมีการระบายน้ำออกไปหรือทำให้ดินแห้ง สารประกอบกำมะถันจะแปรสภาพปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าปฏิกิริยาดินจะลดลงจนเป็นกรดรุนแรงมาก กลุ่มชุดดินนี้จัดเป็นดินเค็มที่มีกรดแฝงอยู่ |
|
|
อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์) |
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน) |
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH) |
ดินบน |
4.6 |
77.0 |
1370.0 |
6.0-8.0 |
ดินล่าง |
4.6 |
77.0 |
1370.0 |
6.0-8.0 |
*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05 |
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ |
ปานกลางถึงสูง |
การใช้ประโยชน์ |
พืชพรรณตามธรรมชาติเดิมเป็นป่าชายเลนขึ้นปกคลุม แต่ในปัจจุบันมีพื้นที่เป็นจำนวนมากที่ดัดแปลงมาใช้ทำนากุ้ง เลี้ยงปลา หรือทำนาเกลือ การทำนากุ้งหรือเลี้ยงปลา ถ้าไม่มีการจัดการที่เหมาะสม ผลผลิตมักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเกิดกรดและการเกิดสารพิษบางอย่าง เป็นต้น |
ปัญหา |
ดินเลนเค็มที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำวัน มีศักยภาพก่อให้เกิดดินกรดกำมะถัน เกิดก๊าซพิษไข่เน่า และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช มีความสามารถในการทรงตัวของต้นพืชต่ำมาก ทำให้พืชล้มง่าย เมื่อดินแห้งจะแปรสภาพเป็นดินกรดกำมะถันและเค็ม และมีน้ำทะเลท่วมเป็นประจำทุกวัน |
ความเหมาะสมด้านการเกษตร |
พืช |
ชั้น
ความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
ข้าว |
3f |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากการถูกน้ำท่วม |
อ้อยโรงงาน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
มันสำปะหลัง |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
สับปะรด |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ยางพารา |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ปาล์มน้ำมัน |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
ลำไย |
3w |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง |
|
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก |
ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรทุกประเภท บริเวณพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ควรปลูกป่าชายเลน และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรมีบ่อบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทางน้ำธรรมชาติ สำหรับพื้นที่ป่าชายเลน ควรสงวนไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัย แนวกันชนของลมและคลื่น แหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่อยู่ในป่าชายเลน |
|
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม |
ประเภทการใช้ |
ชั้นความเหมาะสม |
คำอธิบาย |
วัสดุหน้าดิน |
4dx |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดการระบายน้ำของดิน และความเค็มของดิน |
แหล่งทรายและกรวด |
4a |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ดินถมหรือดินคันทาง |
4d |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดการระบายน้ำของดิน |
เส้นทาง แนวถนน |
4f |
ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดน้ำท่วมหรือน้ำแช่ขัง |
บ่อขุด |
1 |
เหมาะสมดี |
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก |
1 |
เหมาะสมดี |
คั้นกั้นน้ำ |
3a |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน |
ระบบบ่อเกรอะ |
3kh |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน |
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก |
3dh |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน |
อาคารต่ำๆ |
3dh |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน |
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน |
3sd |
ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และการระบายน้ำของดิน |
|
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
(Available Water Capacity : AWC) |
ไม่มีข้อมูล |