เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 8 .
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 8
ชุดดินในกลุ่ม
ชุดดินดำเนินสะดวก (Dn) สมุทรสงคราม (Sso) ธนบุรี (Tb) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มชุดดินที่มีการยกร่อง เพื่อเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพืชผักหรือไม้ผล ทำให้ลักษณะและสมบัติดินในแต่ละพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติดินเดิมก่อนมีการยกร่องและวิธีการเตรียมแปลงปลูก
สมบัติของดิน

เป็นกลุ่มชุดดินที่มีการยกร่อง เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ดินบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องน้ำ ดินล่างมีสีเทา บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย พบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเกษตรกรได้ดัดแปลงพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่ ทำให้สภาพผิวดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป ปฏิกิริยาดินของดินไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสมบัติของดินเดิมที่ยกร่อง แต่ส่วนใหญ่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างจัด

 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 3.0 33.2 203.0 6.0-6.5
ดินล่าง 2.7 27.9 191.9 7.0-8.5

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ตามปกติดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง
การใช้ประโยชน์ ดัดแปลงพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่
ปัญหา ดินในกลุ่มนี้ได้รับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นอย่างดี และได้ทำมานานแล้ว จึงถือว่าไม่มีปัญหาแต่ประการใดในเรื่องคุณภาพของดิน แต่สำหรับดินตามชายทะเลบางแห่ง ซึ่งยกร่องใหม่ อาจมีปัญหาเรื่องความเค็ม หรือถ้าเป็นดินที่ยกร่องในพื้นที่ที่เป็นดินกรดจัดจะพบปัญหาเรื่องความเป็นกรดของดิน ซึ่งต้องมีการปรับปรุงดินหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 3d ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน
อ้อยโรงงาน 1 เหมาะสม
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 เหมาะสม
มันสำปะหลัง 1 เหมาะสม
สับปะรด 1 เหมาะสม
ยางพารา 1 เหมาะสม
ปาล์มน้ำมัน 1 เหมาะสม
ลำไย 1 เหมาะสม
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
การยกร่องเพื่อเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดินจากนาข้าวเป็นพืชผักหรือไม้ผล ทำให้ลักษณะและสมบัติดินในแต่ละพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติดินเดิมก่อนมีการยกร่องและวิธีการเตรียมแปลงปลูก โดยทั่วไปจะนำดินล่างที่มีโครงสร้างแน่นทึบ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมาก หรือเป็นดินเค็มมาไว้ที่ผิวดิน ทำให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช จำเป็นต้องมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ แก้ไขความเป็นกรดรุนแรงมากหรือความเค็มของดินก่อนที่จะมีการปลูกพืช มีระบบป้องกันน้ำท่วมและควบคุมระดับน้ำในร่องระหว่างแปลงปลูก พัฒนาระบบน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และศักยภาพในการยืดและหดตัวของดิน
เส้นทาง แนวถนน 3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และศักยภาพในการยืดและหดตัวของดิน
บ่อขุด 1 เหมาะสมดี
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 1 เหมาะสมดี
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 3kh ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3a ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
อาคารต่ำๆ 3a ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) ไม่มีข้อมูล