เลือกคำอธิบายหน่วยแผนที่ 2 .
.
.
   
กลุ่มชุดดินที่ 2
ชุดดินในกลุ่ม
อยุธยา (Ay) ชุดดินบางเขน (Bn) ชุดดินบางน้ำเปรี้ยว (Bp) ชุดดินมหาโพธิ (Ma) ชุดดินท่าขวาง (Tq) หรือดินคล้ายอื่นๆ ที่มีลักษณะและสมบัติจัดอยู่ในกลุ่มชุดดินนี้
ลักษณะเด่น กลุ่มดินเหนียวลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก อาจพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบกำมะถันลึกกว่า 100 ซม. จากผิวดิน การระบายน้ำเลว ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
สมบัติของดิน เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลำน้ำและตะกอนน้ำทะเล แล้วพัฒนาในสภาพน้ำกร่อย พบบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลหรือที่ราบลุ่มภาคกลาง ดินมีการระบายน้ำเลว มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลในดิน สีดินเป็นสีเทาหรือสีเทาแก่ตลอด มีจุดประสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน อาจพบผลึกยิปซัมบ้างเล็กน้อย และพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองของสารจาโรไซต์ในระดับความลึกประมาณ 100 ถึง 150 ซม. ทับอยู่บนชั้นดินเลนตะกอนน้ำทะเลที่มีสีเทาปนเขียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง
 
  อินทรียวัตถุ
(เปอร์เซ็นต์)
ฟอสฟอรัส
(ส่วนต่อล้านส่วน)
โพแทสเซียม
(ส่วนต่อล้านส่วน)
ความเป็นกรดเป็นด่าง
(pH)
ดินบน 2.5 5.0 205.4 5.0-6.0
ดินล่าง 1.6 3.7 158.1 4.5-5.5

*เปอร์เซ็นต์ค่าไนโตรเจน มีค่าเท่ากับ เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ x 0.05
ความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติ
ปานกลาง
การใช้ประโยชน์ ใช้ทำนา บางแห่งยกร่องปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผลบางชนิด นอกฤดูทำนาบางบริเวณอาจใช้ปลูกพืชไร่ พวกพืชตระกูลถั่วต่างๆ บางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นทุ่งหญ้า
ปัญหา ดินเป็นกรดจัดมาก และมีศักยภาพก่อให้เกิดความเป็นกรดของดินเพิ่มขึ้นในดินล่าง ทำให้เกิดการตรึงธาตุอาหารและปลดปล่อยสารที่เป็นพิษต่อพืช โครงสร้างแน่นทึบ ดินแห้งแข็งและแตกระแหง ทำให้ไถพรวนยาก คุณภาพน้ำเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนแหล่งน้ำจืด และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ
ความเหมาะสมด้านการเกษตร
พืช ชั้น ความเหมาะสม คำอธิบาย
ข้าว 1 เหมาะสม
อ้อยโรงงาน 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
มันสำปะหลัง 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
สับปะรด 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ยางพารา 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ปาล์มน้ำมัน 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
ลำไย 3w ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำแช่ขัง
แนวทางการจัดการดิน
เพื่อการเพาะปลูก
ปลูกข้าว ไถพรวนขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ลดและควบคุมความเป็นกรดจัดมากของดินด้วยวัสดุปูน 500 กิโลกรัม/ไร่ หว่านให้ทั่วแปลงปลูก ไถกลบตอซัง ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-40 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือทำนาครั้งที่ 2 หรือใช้ปลูกพืชไร่หรือพืชผักหลังเก็บเกี่ยวข้าว ไถกลบตอซังและทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ปลูกพืชผัก
หรือไม้ผล
ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร มีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ก่อนยกร่อง ควรแยกหน้าดินมาทับบนดินที่ขุดมาจากร่องคูน้ำ หว่านวัสดุปูน 500 กิโลกรัม/ไร่ บนสันร่องและร่องคูน้ำ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับวัสดุปูน 5 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ ล้างและควบคุมไม่ให้ดินเกิดกรดเพิ่มขึ้น เมื่อดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น หว่านด้วยวัสดุปูน 500 กิโลกรัม/ไร่
ความเหมาะสมของดิน
เพื่อใช้ประโยชน์ด้านวิศวกรรม
ประเภทการใช้ ชั้นความเหมาะสม คำอธิบาย
วัสดุหน้าดิน 3s ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน
แหล่งทรายและกรวด 4a ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ดินถมหรือดินคันทาง 3al ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน และศักยภาพในการยืดและหดตัวของดิน
เส้นทาง แนวถนน 4f ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง มีข้อจำกัดเรื่องอันตรายจากน้ำท่วมหรือแช่ขัง
บ่อขุด 1 เหมาะสมดี
อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 1 เหมาะสมดี
คั้นกั้นน้ำ 2a เหมาะสมปานกลาง มีข้อจำกัดเรื่องลักษณะของดินตามการจำแนกดิน
ระบบบ่อเกรอะ 3kh ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องความซาบซึมน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน
โรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดเล็ก
3dh ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน
อาคารต่ำๆ 3dh ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องการระบายน้ำของดิน และระดับน้ำใต้ดินในฤดูฝน
การใช้ยานพาหนะ
ในช่วงฤดูฝน
3sd ไม่เหมาะสม มีข้อจำกัดเรื่องเนื้อดิน และการระบายน้ำของดิน
ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ (Available Water Capacity : AWC) มีค่าระหว่าง 20.26-21.03เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เฉลี่ย 20.51 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักภายในความลึก 120 เซนติเมตร จากผิวหน้าดิน
(หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้ หมายถึงผลต่างของความชื้นความจุสนามมีค่าพลังงาน -33 กิโลพาสคาล และความชื้นที่จุดเหี่ยวถาวรมีค่าพลังงาน -1,500 กิโลพาสคาล)