ชุดดินตะกั่วทุ่ง (Tha Kua Thung series: Tkt)

กลุ่มชุดดินที่ 13
การจำแนกดิน Fine-silty, mixed, superactive, acid, isohyperthermic Typic Sulfaquents
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำทะเลพามาทับถมอยู่บนที่ราบชายฝั่งทะเลท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ที่ลุ่มชายฝั่งทะเลมีน้ำทะเลท่วมถึง มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าโกงกาง ป่าชายเลน บางพื้นที่ใช้เพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำ
การแพร่กระจาย พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเล
กาจัดเรียงชั้น A-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนถึงเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งปนเศษพืชสีดำหรือสีเทาปนน้ำเงิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งปนเศษพืช มีสีเทาปนน้ำเงินของตะกอนสีน้ำทะเลที่กำลังมีกรดกำมะถันเกิดขึ้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ระดับน้ำใต้ดินตื้นมาก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบางปะกง และชุดดินท่าจีน
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นดินเลน น้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำ และเป็นดินที่กำลังมีกรดกำมะถันเกิดขึ้น
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เหมาะสมทางการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙