ชุดดินบึงชะนัง (Bung Chanang series: Bng)

กลุ่มชุดดินที่ 52
การจำแนกดิน Fine, mixed, superactive, isohyperthermic Fluventic Eutrudepts
การกำเนิด เกิดจากการสะสมของมาร์ล
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดงดิบชื้น บางพื้นที่เปิดป่าเพื่อปลูกพืชไร่ และไม้ผล เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และมะละกอ
การแพร่กระจาย พบตามแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-Bw-Ck
ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวตื้นถึงชั้นมาร์ล ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินเหนียว มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงเป็นด่างจัด (pH 7.0-8.5) อยู่บนชั้นที่มีก้อนหินปูนมาก (secondary lime nodule) ภายในความลึกประมาณ 50 ซม. จากผิวดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
50-100
ปานกลาง
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินตาคลี และชุดดินลำนารายณ์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินตื้นถึงชั้นมาร์ลหรือก้อนปูน สภาพพื้นที่มีความลาดชัน มักขาดแคลนน้ำในช่วงเพาะปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีมากสำหรับการปลูกพืชไร่ เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น มีข้อจำกัดปานกลางที่มีชั้นมาร์ลหรือก้อนปูนตื้น ควรเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมมาใช้ปลูก มีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 เพื่อรักษาความสามารถในการผลิตของดินและเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชที่ปลูก มีมาตราการอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน ทำแนวรั้วหญ้าแฝกหรือฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบให้น้ำในแปลงปลูกพืช เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙