ชุดดินบ้านทอน (Ban Thon series: Bh)

กลุ่มชุดดินที่ 42
การจำแนกดิน Sandy, siliceous, superactive, ortstein, isohyperthermic, Typic Haplorthods
การกำเนิด หาดทรายเก่าหรือสันทรายเก่า (old beach sand or sand dune)
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ ดีในดินบนและดีปานกลางถึงค่อนข้างเลวในดินล่าง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็วในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเสม็ดขาว มะพร้าว มะม่วงหิมพานต์ และ สับปะรด
การแพร่กระจาย พบตามบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายเก่า ตามแนวชายฝั่งทะเล ด้านตะวันออกของภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น A-E-Bh
ลักษณะและสมบัติดิน ดินทรายหนาปานกลางถึงชั้นดานอินทรีย์ เนื้อดินบนเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างตอนบนมีสีขาว ชั้นดินล่างถัดไประหว่างความลึก 50-100 ซม. จากผิวดิน มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงที่เป็นชั้นสะสมฮิวมัสและอะลูมินั่มหรือมีเหล็กด้วย อยู่บนชั้นดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วนมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาปนน้ำตาล มักมีจุดประสีปนอยู่ในชั้นดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินต่ำมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบาเจาะ และชุดดินระยอง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินทรายจัดที่มีชั้นถูกชะละลายหนา (ไม่มีธาตุอาหารเหลืออยู่ในดิน) พบ ชั้นดานอินทรีย์แข็งภายในความลึก 100 ซม. จากผิวดิน มีน้ำแช่ขังในฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เหมาะสมดีสำหรับการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกมะม่วงหิมพานต์ ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกไม้ผล มีข้อจำกัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีเนื้อดินเป็นดินทรายและขาดแคลนน้ำ ควรเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมมาใช้ปลูก ปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ทำร่องระบายน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙