ชุดดินย่านตาขาว (Yan Ta Kao series: Yk)

กลุ่มชุดดินที่ 25
การจำแนกดิน : Loamy-skeletal, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic (Aeric) Plinthaquults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็วปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าไม้พุ่มเตี้ย ทุ่งหญ้า ยางพารา
การแพร่กระจาย : พบทั่วไปในภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : A-Btg-Btc-Btcg
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินตื้น ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีเข้มของน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลและดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด มีสีเทา ภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดินพบจุดประสีเหลือง สีน้ำตาลและสีแดงตลอดชั้นดิน และพบศิลาแลงอ่อน (plinthite) ในความลึก 75 ซม.ในปริมาณที่มากว่า 50 %โดยปริมาตรหรือพบต่อเนื่องกัน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
มากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินพะยอมงาม และชุดดินนาท่าม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ การระบายน้ำค่อนข้างเลวและเป็นดินตื้น
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ชุดดินนี้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และพบในพื้นที่ที่มีสภาพพื้นที่เป็น ลูกคลื่นลอนลาด มีการระบายน้ำเลว ชุดดินนี้จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการทำนา สำหรับการทำสวนยางพาราหรือสวนปาล์มนั้น จำเป็นต้องมีการขุดร่องระบายน้ำ เพื่อช่วยให้ดินมีการระบายน้ำดีขึ้น และใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน