ชุดดินยะลา (Yala series: Ya)

กลุ่มชุดดินที่ 45
การจำแนกดิน : Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiudults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 5-20 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดงดิบชื้น ยางพารา
การแพร่กระจาย : บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : A-Bc-Btc
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินตื้นมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนก้อนกรวด มีสีน้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนก้อนกรวดมาก (ก้อนกรวดเป็นหินก้อนกลมและหินก้อนเหลี่ยม) ตลอดชั้นดิน มีสีน้ำตาลหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินแม่ริม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินตื้นมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และสภาพพื้นที่มีความลาดชัน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการเพาะปลูก เนื่องจากเป็นดินตื้นมาก ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและสภาพพื้นที่ค่อนข้างมีความลาดชัน ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าตามธรรมชาติ การนำที่ดินนี้มาใช้ในการเพาะปลูก ต้องมีการจัดการเป็นพิเศษ โดยการขุดหลุม ปลูกพืชคลุมดินและใช้ปุ๋ยเคมี เป็นต้น