ชุดดินวิเชียรบุรี (Wichian Buri series: Wb)

กลุ่มชุดดินที่ 19 หรือ 41
การจำแนกดิน : Loamy, mixed, active, isohyperthermic Aquic (Arenic) Haplustalfs
การกำเนิด : ตะกอนทรายที่ถูกน้ำพาทับถมอยู่บนหินที่เป็นด่างของหินทราย หินดินดาน หินทรายแป้ง หรือหินกรวดมน บริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 1-4 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างมากตอนบนและค่อนข้างเลวในดินล่าง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ค่อนข้างเร็วตอนบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าเต็งรัง ทำนา และงาแดง
การแพร่กระจาย : บริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน : Ap(A)-(E)-Btg-2Bwg (or 2Cg)
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง (pH 5.0-7.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินทราย สีน้ำตาลปนแดงหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ดินล่างตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปน
ทราย สีเทาปนน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาปนชมพู มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) บางบริเวณอาจพบดินบนเป็นทรายหนากว่า 50 ซม.
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ยังไม่พบดินที่จัดตั้ง แต่มีลักษณะคล้ายดินเรณูที่มีชั้นทรายหนา (Renu thick sand variant)
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินบนเป็นทราย มีอินทรียวัตถุต่ำและความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ปรับปรุงบำรุงดินโดยเพิ่มอินทรียวัตถุในอัตราสูง และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น หาแหล่งน้ำสำรอง