ชุดดินท่าเรือ (Tha Rua Series: Tr)
กลุ่มชุดดินที่ 4
การจำแนกดิน : Very-fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Vertic (Aeric) Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 % สูงประมาณ 10 เมตร
จากระดับน้ำทะเล
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
สภาพให้ซึม : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ทำนา
การแพร่กระจาย : ที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-Bg-Bssg
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดิน เป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย
(pH 5.0-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลปนเหลืองเข้ม สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแก่ พบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสตลอดหน้าตัดดิน และมีรอยแตกที่ผิวหน้าดินในฤดูร้อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียวปนทรายหยาบ สีน้ำตาลปนเหลืองเข้ม มีจุดประสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินบ้านหมี่ ชุดดินช่องแค ชุดดินราชบุรี และชุดดินมโนรมย์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : เป็นดินเหนียวจัด มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 50 ซม. นาน 4 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ทำนา ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ย พืชสด เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีของดิน ทำให้ดินร่วนซุย สามารถดูดซับธาตุอาหารไว้ในดินได้ดีขึ้น ไม่ถูกชะล้างไปกับน้ำได้ง่าย นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น