ชุดดินท่าฉาง (Tha Chang series: Tac)

กลุ่มชุดดินที่ 45
การจำแนกดิน : Loamy-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Kandic) Plinthudults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดาน
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ : ดีถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าพุ่มเตี้ย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
การแพร่กระจาย : พบในบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : A-BA-Btc-Btgv-BCgv
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินตื้นดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่างมี เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก มีสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีแดงปนเหลืองภายในความลึก 50 ซม. และดินชั้นล่างถัดไปมีศิลาแลงอ่อน (plinthite) มากกว่า 50 % หรือพบต่อเนื่องกัน ภายในความลึก 150 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินเขาขาด
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินตื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ จึงไม่ค่อยเหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ หากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ประโยชน์ควรมีการจัดการที่ดี โดยการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกร่อนสูญเสียหน้าดิน