ชุดดินรังสิต (Rangsit: Rs)
กลุ่มชุดดินที่ 11
การจำแนกดิน : Very-fine, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด : ตะกอนภาคพื้นสมุทรผสมกับตะกอนลำน้ำ
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ทำนา ยกร่องปลูกส้ม สน หรือพืชผัก
การแพร่กระจาย : พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-Bg-Bjg-Cjg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียว สีดำหรือสีเทาเข้ม มีจุดประสี น้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.0-5.0) มักมีรอยแตกระแหงที่ผิวหน้าดินในฤดูแล้ง ดินบนตอนล่างสีน้ำตาลปนเทา หรือน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีแดง หรือสีแดงปนเหลือง ที่ระดับความลึกประมาณ 50-100 ซม. พบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์
ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว พบรอยไถและผิวหน้าอัดมัน ส่วนที่ระดับลึกกว่า 100-150 ซม. ลงไปมีลักษณะเป็นดินเลน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH <4.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินเสนา ชุดดินองครักษ์ ชุดดินธัญบุรี ชุดดินอยุธยา และชุดดินมหาโพธิ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : เป็นกรดจัดมาก หรือเป็นดินเปรี้ยวจัด เกิดการตรึงธาตุอาหารและมีสารที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ควบคุมน้ำใต้ดินเพื่อป้องการเกิดออกซิเจนของไพไรต์ การยกร่องปลูกพืชเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดกรดดังกล่าวได้ ถ้าจะใช้ปลูกข้าว ควรใช้ปูนมาร์ลในอัตรา 2 ตันต่อไร่ ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ถ้าค่าปฏิกิริยาดิน วัดได้น้อยกว่า 4.5 และถ้าค่าปฏิกิริยาดินสูงกว่า 4.5 ใช้ปุ๋ยและหินฟอสเฟตก็พอ เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม