ชุดดินเรณู (Renu series: Rn)
กลุ่มชุดดินที่ 17
การจำแนกดิน : Fine-loamy, mixed, semiactive isohyperthermic (Aeric) Plinthic Paleaquults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนส่วนต่ำของพื้นผิวของการ
เกลี่ยผิวแผ่นดิน
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ : ทำนา
การแพร่กระจาย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น : Ap-Btg-Btgv
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลือง ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายและเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวในดินล่างลึกลงไป สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาปนชมพู และมีสีเทาอ่อนในดินล่างลึกลงไป มีจุดประสีน้ำตาลแก่หรือสีน้ำตาลปนเหลืองและมีสีแดงปนเหลืองหรือสีแดงในดินชั้นล่าง จุดประสีแดงปนเหลืองหรือสีแดงเป็นศิลาแลงอ่อน มีปริมาณ 5-50 % โดยปริมาตร ภายในความลึก 150 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินร้อยเอ็ด
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สมบัติทางกายภาพไม่ดี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ควรใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยพืชสดเพื่อเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงสมบัติทางกายภาพให้ดีขึ้น