ชุดดินราชบุรี (Ratdhaburi: Rb)
กลุ่มชุดดินที่ 4
การจำแนกดิน : Fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Vertic (Aeric)
Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่ในบริเวณที่ราบน้ำท่วม หรือ
ที่ราบตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ทำนา ปลูกพืชผักสวนครัวและพืชไร่หลังฤดู
ทำนา
การแพร่กระจาย : ที่ราบภาคกลางและภาคเหนือ
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-BAg-Bg
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึก ดินบนเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายแป้งตลอด สี น้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรด
เล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้มหรือสีน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง สีน้ำตาลและสีน้ำตาลปนเหลืองในดินชั้นล่าง อาจพบรอยถูไถและจุดประสีแดงปนเหลืองปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ดินล่างตอนล่างอาจพบเกล็ดแร่ไมกา ก้อนเหล็ก และแมงกานีสสะสมตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
สูง
25-50
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
สูง
50-100
ปานกลาง
สูง
สูง
ปานกลาง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินสิงห์บุรี ชุดดินพิมาย และชุดดินสระบุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 50 ซม. นาน 4-5 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ใช้ปลูกข้าวและควรปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชให้กับดิน และทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ปรับปรุงการระบายน้ำของดิน และป้องกันน้ำขังโดยทำทางระบายน้ำผิวดิน