ชุดดินปัตตานี (Pattani series: Pti)

กลุ่มชุดดินที่ 14
การจำแนกดิน : Coarse-loamy, mixed, superactive, nonacid, isohyperthermic Sulfic
Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำทะเลพามาทับถมอยู่บนบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : หญ้า ป่าแคระ นาข้าว
การแพร่กระจาย : พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลของภาคใต้
การจัดเรียงชั้น : Apg-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินร่วนปนทรายถึงเป็นดินร่วนปนดินเหนียว มีสีเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างเป็นดินชั้นสลับของดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายแป้งของตะกอนน้ำทะเลที่กำลังมีกรดกำมะถันเกิดขึ้น มีสีเทาปนน้ำเงิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ระดับน้ำใต้ดินตื้นมาก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินไชยา
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินค่อนข้างเป็นทราย เป็นชั้นสลับของตะกอนน้ำทะเลที่กำลังมีกรดกำมะถันเกิดขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและมีน้ำท่วมขังนานในรอบปี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ในพื้นที่ที่ทำนาข้าว ควรมีการใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่นร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี และหลังฤดูปลูกควรมีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดของดินเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ที่เป็นป่าเสม็ดควรจะรักษาไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ ไม่ควรนำมาใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากชุดดินนี้มีศักยภาพต่ำมาก