ชุดดินโพนพิสัย (Phon Phisai series: Pp)
กลุ่มชุดดินที่ 49
การจำแนกดิน : Loamy-skeletal over clayey, kaolinitic, isohyperthermic Typic (Oxyaquic
Plinthic) Paleustults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนชะมาทับถมบนหินตะกอนเนื้อละเอียดบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ : ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ : ป่าเต็งรัง พืชไร่ บางพื้นที่ทำคันนาปลูกข้าว
การแพร่กระจาย : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น : A(Ap)-Btcv-BC
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรัง ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่างตอนบน เป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถัดไปเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดหรือดินเหนียวปนกรวดมาก มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแก่ ส่วนดินล่างภายใน 50-100 ซม. เป็นดินร่วนเหนียวปนกรวดมากหรือดินเหนียวปนกรวดมากถัดไปจะเป็นชั้นดินเหนียวตลอด มีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาอ่อน มีจุดประสีแดงของศิลาแลงอ่อนและน้ำตาลแก่หรือน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.0-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินสระแก้ว
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ : เป็นดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรัง เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีที่ใช้ปลูกพืชไร่ ควรเลือกพืชที่มีรากสั้น เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว และอื่นๆ ส่วนกรณีที่ใช้ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดไม่เล็กกว่า 75x75x75 ซม. แล้วนำหน้าดินหรือดินจากที่อื่นมาผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ลงในหลุมปลูก อัตราประมาณ 20-30 กก.ต่อหลุม เมื่อผสมแล้วนำกลับลงไปในหลุมก่อนที่จะปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น