ชุดดินพังงา (Phang-nga series: Pga)

กลุ่มชุดดินที่ 26
การจำแนกดิน : Fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiudults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหิน granite
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดงดิบชื้น ยางพาราและสวนผลไม้
การแพร่กระจาย : บริเวณชายเนินเขาของหินแกรนิต พบมากในด้านตะวันตกของภาคใต้
และในภาคตะวันออกของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : Ap-BA-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายถึงเป็นดินเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินภูเก็ต ชุดดินพังงา และชุดดินท้ายเหมือง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินมีความลาดชันและเนื้อดินเป็นดินปนทราย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินนี้เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม แต่ดินมีความลาดชัน ในการใช้ประโยชน์บริเวณนี้ ต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุ่มดิน