ชุดดินหนองคล้า (Nong Khla series: Nok)

กลุ่มชุดดินที่ 45
การจำแนกดิน : Clayey-skeletal, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiudults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดานและหินในกลุ่ม
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดงดิบชื้น ยางพารา วัสดุถมถนน
การแพร่กระจาย : ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : A-BA-Btc
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นมาก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปน ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนลูกรัง มีสีแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินคลองซาก ชุดดินตราด และชุดดินตรัง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นดินตื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ชุดดินนี้ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการนำมาใช้เพาะปลูก เนื่องจากเป็นดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ดินบริเวณนี้ ต้องมีการจัดการเป็นพิเศษ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและปลูกพืชคลุมดิน ในบริเวณที่มีความลาดชันสูง ต้องมีการทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันการกร่อนของดิน