ชุดดินมูโนะ (Munoh series: Mu)

กลุ่มชุดดินที่ 10
การจำแนกดิน : Fine, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำทะเลในพื้นที่พรุหรือที่ลุ่มระหว่างสันทรายชายทะเล
สภาพพื้นที่ : ที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่พรุ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : นาข้าว หญ้า กก โครงเครงและป่าเสม็ด
การแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายทั่วไปบริเวณขอบที่ลุ่มต่ำหรือพื้นที่พรุชายทะเลภาคใต้
การจัดเรียงชั้น : Ap-Bg-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงเป็น
ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง มีสีดำหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0)
ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง มีจุดประสีเหลือง สีน้ำตาล และมีจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารประกอบจาโรไซท์ (jarosite mottles) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงเป็นกรดรุนแรงมากที่สุด (pH 3.5-4.0) ความเป็นกรดรุนแรงมากเกิดมาจากการเติมออกซิเจน (oxidized) เข้าไปในสารประกอบกำมะถัน และดินล่างชั้นถัดไปช่วงความลึก 50-100 ซม. เป็นดินเลนสีเทา มีสารประกอบกำมะถัน (pyrite: FeS2) มาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (5.0-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินระแงะ และชุดดินต้นไทร
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินมีโครงสร้างแน่นทึบและเป็นกรดจัดมาก เนื่องจากสารประกอบกำมะถัน มีธาตุอะลูมิเนียม เหล็ก และแมงกานีสถูกละลายออกมามากจนเป็นพิษต่อพืช ธาตุฟอสฟอรัสถูกตรึงพืชดูดไปใช้ไม่ได้ ดินมีโครงสร้างแน่นทึบและมีน้ำแช่ขัง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดปานกลางที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก ควรมีการปรับปรุงดินด้วยวัสดุปูนตามความต้องการปูนของดิน ไถกลบพืชปุ๋ยสดร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำจืดไว้ล้าง ควบคุมและใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ จัดระบบการให้น้ำและระบายน้ำแยกส่วนกัน