ชุดดินมหาโพธิ (Maha Phot Series: Ma)
กลุ่มชุดดินที่ 2
การจำแนกดิน : Very-fine, mixed, active, acid, isohyperthermic Vertic Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมบริเวณที่ราบน้ำกร่อย หรือบริเวณที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ทำนา
การแพร่กระจาย : ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-Bssg-Bssjg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินเหนียวมีสีดำหรือสีเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลแก่ ปฏิกิริยาดิน เป็นดินกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวปนทรายแป้งมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีแดงและสีเหลืองปนน้ำตาล จะ พบจุดประสีเหลืองฟางข้าว ในดินล่างลึกลงไปโดยทั่วไปลึกกว่า 1 เมตร จากผิวดิน หน้าอัดมันและรอยไถลและหน้าดินจะแตกระแหงเมื่อดินแห้ง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5) ดินล่างตอนล่าง เป็นดินเลนเหนียวสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.5 )
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
สูง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินอยุธยา ชุดดินรังสิต และชุดดินองครักษ์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินเป็นกรดจัด การระบายน้ำเลว มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 80-200 ซม.
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : จำเป็นต้องแก้ความเป็นกรดจัดของดินโดยใส่พวกปูนขาวหรือปูนมาร์ลและต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงสภาพให้ดินดีขึ้น