ชุดดินลำภูรา (Lamphu La series: Ll)

กลุ่มชุดดินที่ 26
การจำแนกดิน : Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Typic Palehumults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา (ตะพักลำน้ำเก่า)
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดงดิบชื้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชไร่ และไม้ผล
การแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น : A-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปน
ดินเหนียว มีสีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)
ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินกระบี่ ชุดดินรือเสาะ และชุดดินปากจั่น
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ไม่มี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมดีสำหรับปลูกไม้ยืนต้น พืชไร่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล พื้นที่ส่วนใหญ่มีการประโยชน์ที่ดินติดต่อกันมาเป็นเวลา ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ปลูกพืชคลุมดิน ทำแนวรั้วหญ้าแฝกหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ