ชุดดินคลองเต็ง (Khlong Teng series: Klt)

กลุ่มชุดดินที่ 51
การจำแนกดิน : Fine-loamy, mixed, semiactive, shallow, isohyperthermic, Typic Haplohumults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของหินดินดาน
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 5-20 %
การระบายน้ำ : ดีถึงดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดงดิบชื้น ปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมัน
การแพร่กระจาย : พบแพร่กระจายในพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น : Ap-Bt-Cr
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทรายแป้งหรือดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็น
ดินร่วนปนดินเหนียว มีสีน้ำตาลและมีสีผสมของสีหินดินดานผุพัง พบชั้นหินพื้นของหินดินดานภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินห้วยยอด (Ho) และชุดดินลี้
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินตื้น สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง หน้าดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมปานกลางสำหรับทำทุ่งหญ้า ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่และไม่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น มีข้อจำกัดที่มีชั้นหินพื้นตื้น ควรเลือกชนิดพืชที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับศักยภาพของดิน โดยมีการทำการเกษตรประเภทที่ไม่มีการไถพรวน (แบบวนเกษตร) ปรับหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือ
ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ทำแนวรั้วหญ้าแฝกร่วมกับฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ