ชุดดินคอหงษ์ (Kho Hong series: Kh)

กลุ่มชุดดินที่ 39
การจำแนกดิน : Coarse-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Typic Kandiudults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของหินทรายหรือหินในกลุ่มในพื้นที่ที่มีการเกลี่ยผิวแผ่นดินให้ ต่ำลง
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พืชไร่ และผลไม้
การแพร่กระจาย : พบกระจายทั่วไปในภาคใต้และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
การจัดเรียงชั้น : A-BA-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินร่วนหยาบลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเหลือง อาจพบดินร่วนเหนียวปนทรายในดินล่างชั้นถัดไป ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินนาทวี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินค่อนข้างเป็นทรายและสภาพพื้นที่มีความลาดชัน หน้าดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมดีสำหรับลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน เหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกไม้ผลและพืชไร่ มีจำกัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหยาบ มีเนื้อดินเป็นดินปนทรายและสภาพพื้นที่มีความลาดชัน ขาดแคลนน้ำ ควรปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดหรือปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ปลูกพืชคลุมดิน ทำแนวรั้วหญ้าแฝกหรือฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ