ชุดดินกาบแดง (Kab Daeng series: Kd)

กลุ่มชุดดินที่ 57
การจำแนกดิน : Loamy, mixed, superactive, dysic, isohyperthermic Terric Sulfihemists
การกำเนิด : เกิดจากการสะสมและสลายตัวผุพังของซากพืช (Organic Soil Material)
สภาพพื้นที่ : ที่ลุ่มต่ำและมีน้ำขังเป็นเวลานาน พบบริเวณขอบพื้นที่พรุ
การระบายน้ำ : เลวมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าเสม็ด หญ้า กก และกระจูด
การแพร่กระจาย : พบมากในจังหวัดนราธิวาสและนครศรีธรรมราช
การจัดเรียงชั้น : Oe-Oi-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินอินทรีย์หนาปานกลาง ดินบนเป็นชั้นวัสดุอินทรียที่ส่วนใหญ่มีการสลายตัวปานกลางถึงสลายตัวดีและชั้นถัดไปการสลายตัวยังไม่มากนัก มีความหนา 40-100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5-5.0) ดินชั้นล่างเป็นดินเลนตะกอนน้ำทะเล มีสีเทาปนน้ำเงินที่มีสารไพไรท์ (FeS2) มากกว่า 2 % หรือมีซัลเฟอร์ทั้งหมดมากกว่า 0.75 % ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0) ชั้นดินนี้เมื่อถูกเติมออกซิเจนจะแปรสภาพเป็นกรดกำมะถัน ทำให้ดินเป็นกรดอย่างรุนแรงและมีค่าปฏิกิริยาดินน้อยกว่า 4.0
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
25-50
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
50-100
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
สูง
สูง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินนราธิวาส
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินอินทรีย์หนา 40-100 ซม. ที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่ำ ขาดธาตุอาหารบางอย่างรุนแรง ดินเป็นกรดจัดมาก สภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มต่ำมีน้ำขังสูงและนานเกือบตลอดปี
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : บริเวณที่ยังคงสภาพเป็นป่า ควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติ หรือปล่อยไว้ให้พืชที่ชอบน้ำขึ้นปกคลุม ปลูกข้าวหรือยกร่องปลูกปาล์มน้ำมัน บริเวณขอบๆ พื้นที่พรุ โดยการปรับสภาพความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูนร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะธาตุอาหารรอง เช่น สังกะสีและโบรอน พัฒนาแหล่งน้ำจืด จัดระบบการให้น้ำและระบายน้ำแยกส่วนกัน