ชุดดินหุบกระพง (Hup Krapong Series: Hg)
กลุ่มชุดดินที่ 40
การจำแนกดิน : Coarse-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Haplustalfs
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนลำน้ำพา และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ
โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหิน หินไมกาไนส์ หินไมกาชีสต์ หรือหินแกรนิต ทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัดติดต่อกัน
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีคามลาดชัน 1-5 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลางถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง บางแห่งปลูกไม้ผล
การแพร่กระจาย : ด้านตะวันตกของที่ราบลุ่มภาคกลาง
การจัดเรียงชั้นดิน : Ap-Bt
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึก เป็นดินร่วนปนทรายตลอดและอนุภาคทรายมีขนาดหยาบขึ้นตามความลึก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนปนทรายมีสีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีน้ำตาลแก่ ดินล่างตอนล่างเนื้อดินเป็นร่วนปนทรายหยาบ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ในดินล่างลึกลงไปอาจพบจุดประสีในดินชั้นนี้ พบเกล็ดแร่ไมกาตลอดหน้าตัดของดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินทุ่งหว้า ชุดดินสัตหีบ ชุดดินชลบุรี และชุดดินมาบบอน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินเป็นทรายจัด มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ปลูกพืชไร่ ควรเลือกปลูกพืชที่ทนแล้งได้ดี ควรมีการปรับปรุงบำรุงรักษาดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและเคมีให้ดีขึ้นและควรใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น