ชุดดินสุไหงโก-ลก (Su-ngai Golok series: Gk)

กลุ่มชุดดินที่ 6
การจำแนกดิน : Fine, kaolinitic, isohyperthermic Typic Endoaquults
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่ในบริเวณระหว่างเนินเขาที่มีสภาพพื้นที่เป็น หินแกรนิต
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : นาข้าว และพื้นที่ทิ้งร้าง เช่น กก และอ้อ
การแพร่กระจาย : พบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มภาคใต้
การจัดเรียงชั้น : Apg-Btg-BCg
ลักษณและสมบัติดิน : ดินเหนียวละเอียดลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีเทา ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทราย มีสีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ำตาล และสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 4.5-6.0) ดินล่างถัดไปมีเนื้อดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนปนทราย มีจุดประสีเหลืองและสีน้ำตาล (มีเนื้อดินเหนียวลดลงมากกว่า 20 % โดยน้ำหนัก จากชั้นที่มีดินเหนียวสูงสุด) ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินท่าศาลา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมดีสำหรับปลูกข้าว มีข้อจำกัดเล็กน้อยที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรมีการปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ