ชุดดินดงตะเคียน (Dong Takhian Series: Dt)
กลุ่มชุดดินที่ 43
การจำแนกดิน : Coated, isohyperthermic Lamellic Ustic Quartzipsamments
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนลำน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำเก่า ระดับสูง และ/หรือถูกเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินแกรนิต
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-4 %
การระบายน้ำ : ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าเบญจพรรณ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด
การแพร่กระจาย : บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้
การจัดเรียงชั้นดิน : A-E-C
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH 6.0-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินทราย ดินร่วน หรือดินทราย สีขาวปนชมพู ขาว เทาอ่อน หรือเทาปนชมพู ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6..5) ดินล่างตอนล่างเป็นทรายที่มีการสะสมอินทรียวัตถุเป็นชั้นบางๆ สีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มลึกกว่า 1 เมตร จากผิวดินปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง (pH 6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินบ้านทอน ชุดดินหัวหิน และชุดดินสัตหีบ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นทรายจัด ดินอุ้มน้ำได้น้อย เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ การระบายน้ำของดินมากเกินไป
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินทั้งทางกายภาพและเคมีให้ดีขึ้น ช่วยให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดีขึ้น สามารถดูดซับธาตุอาหารไว้ในดินได้ดี ไม่ถูกชะล้างไปกับน้ำได้ง่าย