ชุดดินดอยปุย (Doi Pui series: Dp)

กลุ่มชุดดินที่ 30
การจำแนกดิน : Fine, kaolinitic, hyperthermic (isohyperthermic or thermic) Kandic Palehumults
การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินชีสต์หรือไมก้าชีสต์ บริเวณพื้นที่ภูเขาและรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นภูเขาสูงชันมาก ความลาดชัน 3 - ชันกว่า 50 %
การระบายน้ำ : ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้าถึงเร็วมาก
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าดิบเขา ป่าสนและป่าเบญจพรรณบางพื้นที่ใช้ทำไร่เลื่อนลอย ข้าวโพด ข้าวไร่ ไม้ตัดดอก ไม้ผล และพืชผักเมืองหนาว
การแพร่กระจาย : บริเวณภูเขาสูงในภาคเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไป
การจัดเรียงชั้นดิน : Ap(A)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-7.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินเชียงแสน และชุดดินเชียงของ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ และจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม ปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอโดยเพิ่มอินทรียวัตถุและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้