ชุดดินช่องแค (Chong Khae Seies: Ck)

กลุ่มชุดดินที่ 1
การจำแนกดิน : Very-fine, smectitic, isohyperthermic (Aeric Chromic) Ustic Endoaquerts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนส่วนต่ำของตะพักลำน้ำค่อนข้างใหม่
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ : ทำนา
การแพร่กระจาย : บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางใกล้ภูเขาหินปูน
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-Bg-Bssg
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินเป็นกรดแก่ถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด ดินบนมีสีเทาเข้มถึงสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีแดงตลอด ในฤดูแล้งหน้าดินจะมีรอยแตกระแหงกว้างและลึก จะพบรอยไถลในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลาง (pH 6.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง

ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินบ้านหมี่ ชุดดินวัฒนา ชุดดินโคกกระเทียม และชุดดินลพบุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : มีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 30-40 ซม. นาน 3-4 เดือน เป็นดินเหนียวจัด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ทำนา ต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์และเคมีร่วมกัน