ชุดดินชะอำ (Cha-am Series: Ca)

กลุ่มชุดดินที่ 9
การจำแนกดิน : Very fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำทะเลและน้ำกร่อยพามาทับถมบนที่ราบน้ำทะเลท่วมถึง
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เป็นที่รกร้างว่างเปล่า บางส่วนใช้ทำนา
การแพร่กระจาย : ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งทะเล
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-BAg-Bjg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินนี้เมื่อแห้งหรือถูกเติมออกซิเจนจะแปรสภาพเป็นดินกรดจัด ดินบนเป็นดินเหนียว สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5) ดินบนตอนล่าง เป็นดินเหนียวปนวัตถุอินทรีย์ที่ยังไม่สลายตัว สีน้ำตาล สีน้ำตาลปนเทาถึงสีเทาปนเขียวมะกอกและสีเขียว มีจุดประสีเหลืองฟางข้าว ภายในความลึก 50 ซม.
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก (pH 4.5) ดินล่างตอนล่าง เป็นดินเหนียวมีสีเทาปนเขียวและสีเทาปนเขียว มะกอกปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด (pH 5.0) อาจพบคราบเกลือที่ผิวดิน ผลึกแร่ยิปซัมในดินบนและซัลเฟอร์ปริมาณสูงในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินบางน้ำเปรี้ยว และชุดดินองครักษ์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : ดินเป็นกรดจัด มีน้ำท่วมขังลึก 20-30 ซม. ในฤดูฝน การทำนาไม่ค่อยได้ผลจึงมักปล่อยไว้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ทำนาต้องแก้สภาพกรดของดิน โดยใช้ปูนขาวใส่ในอัตราที่เหมาะสมและควรมีการป้องกันน้ำทะเลเข้าถึงด้วย เมื่อสามารถแก้ข้อจำกัดดังกล่าวได้แล้ว ก็จะใช้ทำการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี