ชุดดินบ้านหมี่ (Banmi series: Bm)
กลุ่มชุดดินที่ 1
การจำแนกดิน : Very-fine, smectitic, isohyperthermic Ustic Epiaquerts
การกำเนิด : เกิดจากการสะสมของตะกอนดินเหนียวในพื้นที่ราบลุ่มที่น้ำท่วมหรือรอยต่อระหว่างลานตะพักขั้นต่ำ
กับพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วม
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบ มีความลาดชันน้อยกว่า 2 % อยู่สูง 4-20 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การระบายน้ำ : เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ทำนา
การแพร่กระจาย : ภาคกลางและที่สูงตอนกลางของประเทศในบริเวณที่มีภูเขาหินปูน
การจัดเรียงชั้นดิน : Apg-Bssg--Ck
ลักษณะและสมบัติของดิน : เป็นดินลึก ดินบนเนื้อดินเป็นดินเหนียวมีสีดำหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลถึงสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินบนตอนล่างมีสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเหลืองปฏิกิริยาดินเป็นกลาง (pH 7.0) ดินล่างตอนล่างเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีเทาเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ในฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหง จะพบรอยไถล อาจพบก้อนหินปูนสะสมในดินล่าง

ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง

ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินวัฒนา ชุดดินลพบุรี และชุดดินช่องแค
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ : น้ำท่วมขังในฤดูฝน ลึก 30-40 ซม. นาน 3-4 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ทำนา ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ดินดีมีความร่วนซุยเพิ่มขึ้น การระบายน้ำจะดีขึ้นด้วย ดินสามารถดูดซับปุ๋ยไว้ได้ดีไม่ถูกชะล้างไปได้ง่ายๆ