ชุดดินบ้านบึง (Ban Bueng series: Bbg)

กลุ่มชุดดินที่ 24
การจำแนกดิน : Coated, isohyperthermic, Oxyaquic Quartzipsamments
การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาหรือเนินตะกอนน้ำพารูปพัดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เป็นหินแกรนิต
สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การระบายน้ำ : ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ปลูกอ้อย และมันสำปะหลัง
การแพร่กระจาย : พบในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
การจัดเรียงชั้น : Ap-C-Cg
ลักษณะและสมบัติดิน : ดินทรายลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน มีสีน้ำตาล มีจุดประสีเทาและสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีเหลืองปนน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน มีสีเทาหรือสีน้ำตาลและมีจุดประสีเหลืองในดินล่างถัดลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ตลอดหน้าตัดดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินระยอง และชุดดินสัตหีบ
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ดินทรายจัด ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ฤดูฝนมีระดับน้ำใต้ดินตื้นหรือมีน้ำขัง และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : เหมาะสมปานกลางสำหรับการปลูกอ้อย มันสำปะหลังและสับปะรด มีข้อจำกัดปานกลางที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนามากและระดับน้ำใต้ดินตื้นในฤดูฝน ควรมีการทำทางระบายน้ำ และปรับปรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูกพืช เพื่อไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ำ