ชุดดินอุดร (Udon series: Ud)

กลุ่มชุดดินที่ 20
การจำแนกดิน Coarse-loamy, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Typic Halaqueptsการกำเนิด เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิว
แผ่นดิน
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-3 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ใช้ทำการเพาะปลูกบ้างเล็กน้อย บางแห่งทำนาและเป็น
แหล่งทำเกลือ
การแพร่กระจาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Apg-Bwg
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินมีการเรียงตัวสลับชั้นกัน ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างมีเนื้อดินและสีของดินล่างผันแปรไปได้มาก โดยเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายหรือดินเหนียวสลับไปกับดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีดินส่วนใหญ่เป็นสีเทาปนชมพู สีเทาปนน้ำตาลหรือสีเทา จะพบจุดประสีน้ำตาลหรือสีเหลืองตลอดชั้นดิน มีสารละลายของเกลืออยู่เป็นจำนวนมาก ในหน้าแล้งจะพบคราบเกลืออยู่หน้าดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0-5.5) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินกุลาร้องไห้
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินบนค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินเค็ม มีสารละลายของเกลืออยู่ในดินมาก ในหน้าแล้งจะพบเกลือที่หน้าดิน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปไม่เหมาะสมในการปลูกพืช เว้นแต่จะมีแหล่งน้ำมากพอที่จะลดความเข้มข้นของเกลือลงจึงพอจะปลูกข้าวได้ผล เลือกพันธุ์พืชทนเค็มปลูก




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙