ชุดดินท่าตูม (Tha Tum: Tt)

กลุ่มชุดดินที่ 7
การจำแนกดิน Fine, mixed, semiactive, isohyperthermic Aeric (Plinthic) Endoaqualfs
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างเลวถึงเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลางในดินบนและช้าในดินล่าง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนาหว่านและนาดำ
การแพร่กระจาย พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Ap-AB-Btgv-2C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย สีเทาปนชมพูหรือสีเทา มีจุดประสีแดงและสีแดงปนเหลืองของศิลาแลงอ่อน ปริมาณ 5-50 % โดยปริมาตร พบชั้นดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายระหว่างความลึก 100-150 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพาน
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ อาจจะเกิดการขาดแคลนน้ำในฤดูทำนาได้
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินและทำให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ควรจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรได้อย่างเพียงพอ




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙