ชุดดินทุ่งสัมฤทธิ์ (Thung Samrit series: Tsr)

กลุ่มชุดดินที่ 20
การจำแนกดิน Very fine, smectitic isohyperthermic Typic Natraquerts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนที่ราบน้ำท่วมถึง
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ทำนา
การแพร่กระจาย ที่ราบลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น Apg-Bssgn
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียวตลอด หน้าดินมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล ปนเทาเข้ม ดินล่างมีสีเทาหรือสีเทาอ่อน มักพบจุดประสีน้ำตาลแก่ สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลปนแดงตลอดหน้าตัดดิน ฤดูแล้งหน้าดินจะแตกระแหงกว้างและลึก บางบริเวณมีคราบเกลือบริเวณผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกกลาง (pH 5.5-7.0) ในดินบนและเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพิมาย
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินเค็มด่าง ดินเหนียวจัด หน้าแล้งดินแน่นทึบ แตกกว้างและลึก
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุและใส่ยิปซัม ปลูกพืชทนเค็ม และไถพรวนในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสม




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙